วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติวัดโพธิ์ศรีหนองกก



วัดโพธิ์ศรีหนองกก ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน เดิมทีนั้น ยังมิได้เป็นวัดโพธิ์ศรีหนองกก ยังมิได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมา ยังคงเป็นที่พำนักสงฆ์อยู่ และมิได้ตั้งอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน ได้เคยย้ายที่ตั้งมาแล้ว ๒-๓ ที่ อาจจะด้วยสาเหตุของการประกอบกิจทางศาสนาที่ไม่สะดวกนัก หรืออาจเป็นเพราะการฌาปนกิจที่ยุ่งยาก เป็นอุปสรรคต่อการทำพิธีสงฆ์

ต่อมา เมื่อได้ย้ายที่พำนักสงฆ์มาตั้งอยู่ ณ สถานที่(วัดโพธิ์ศรีหนองกก)ในปัจจุบัน คณะกรรมการหมู่บ้านได้มีประชุมปรึกษาหารือและมีความเห็นชอบร่วมกันว่า สมควรให้มีวัดขึ้นในหมู่บ้านเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจร่วมกัน ประกอบกับมีบริเวณหมู่บ้านอยู่ใกล้เคียงกันหลายหมู่บ้าน และมีประชากรในหลายหมู่บ้านเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่มีวัดสำหรับเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ จึงได้ประชุมปรึกษาหารือจึงได้ขออนุญาตสร้างวัดขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๐ บนเนื้อที่ ๕ ไร่ ๒ งาน ๑๑ ตารางวา น.ส. ๓ เลขที่ ๑๘๕๒ ได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมาในปีพุทธศักราช ๒๔๔๖

วัดโพธิ์ศรีหนองกก มีรายนามเจ้าอาวาส ดังนี้
๑. พระอุปัชฌาย์พิลา โสภิโต
๒. พระครูเทวราชกวีวรญาณ(จูม ธฺมมทีโป)
๓. พระมา สญฺญโม
๔. พระอธิการแสวง เตชปญฺโญ
๕. พระอธิการเพ็ง สิริจนฺโท
๖. พระครูประสิทธิ์ธรรมรังษี(ฤทธิ์ ปสนฺโน)

ปัจจุบันวัดโพธิ์ศรีหนองกก เป็นศาสนสถานที่เสริมสร้างและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของประชาชนชาวตำบลบัวหุ่งหมู่ ๖ หมู่ ๙ และหมู่ ๑๗ รวมถึงหมู่บ้านใกล้เคียง มีเสนาสนะที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้แก่
กุฎิ กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๕ เมตร จำนวน ๑ หลัง
กุฎมิกว้าง ๗ เมตร ยาว ๕ เมตร ๒ หลัง
ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๑๕ เมตร จำนวน ๑ หลัง
อุโบสถกว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ๑ หลัง
ศาลาเอนกประสงค์ กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๑๗ เมตร ๑ หลัง
เมรุ(ฌาปนสถาน) ๑ หลัง
ห้องน้ำ กว้าง ๓ เมตร ยาว ๑๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
มีพระครูประสิทธิ์ธรรมรังษี(ฤทธิ์ ปสนฺโน) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

ภาพสถานที่สำคัญภายในวัด


อุโบสถ



ศาลาการเปรียญ


หอระฆัง


กุฏิใหญ่


เมรุ


ศาลาเอนกประสงค์


ต้นโพธิ์คู่วัด(จากทั้งหมด ๓-๔ ต้น)


น.ส.สุดใน เฑียนมณี ผู้มีอุปการคุณของวัดโพธิ์ศรีหนองกก


รูปปั้นเสมือน หลวงปู่เพ็ง สิริจนฺโท
เจ้าอาวาสรูปก่อน


พระพุทธรูปบนศาลาการเปรียญ




หากมีข้อผิดพลาดอย่างไร ผู้สร้างโพสต์ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ด้วยความเคารพอย่างสูง

(C)2556 สงวนสิทธิ์ในนามวัดโพธิ์ศรีหนองกก บ้านหนองกก ตำบลบัวหุ่ง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ห้ามนำไปเพื่อการจำหน่าย การหารายได้ หรือการพาณิชย์ใดๆ นอกเสียจากเพื่อการกุศลเท่านั้น

ประวัติ พระครูเทวราชกวีวรญาณ(จูม ธฺมมทีโป)


 รูป : พระครูเทวราชกวีวรญาณ(จูม ธฺมมทีโป)


พระครูเทวราชกวีวรญาณ นามเดิม จูม นามสกุล อาจสาลี เป็นบุตรคนที่ ๑ ของ นายหล้า-นางหล้า อาจสาลี เกิดที่บ้านหนองกก ตำบลบัวหุ่ง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ ๗ เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๒๘ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งสิ้น ๘ คน ดังนี้
๑. พระครูเทวราชกวีวรญาณ (จูม ธฺมมทีโป)
๒. นางบาง อาจสาลี
๓. นางทุม อาจสาลี
๔. นายเพ็ง อาจสาลี
๕. นายเรือง อาจสาลี
๖. นายบุญมี อาจสาลี
๗. นายสุด อาจสาลี
๘. นางปี วรธรรม

เมื่อครั้งเจริญวัย ก่อนการบรรพชาอุปสมบท ได้ศึกษาภาษาไทย จากสำนักอาจารย์พออ่านออกเขียนได้ ครั้งเมื่ออายุ ๑๘ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๒๐ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๔๖ มีพระครูเกษตรศีลาจารย์(นาม) เป็นอุปัชฌาย์ ณ วัดบ้านหนองกก และได้อยู่ศึกษาวิชาที่วัดบ้านหนองกก

เมื่ออายุ ๒๐ ปี ได้อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๘ เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ ณ พัทธสีมาวัดบ้านเสียว ตำบลเสียว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ(ปัจจุบัน คืออำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ) โดยมีพระครูเกษตรศีลาจารย์(นาม) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเรือง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูจันดา เป็นพระอนุสาวนาจารย์

รูป : พระจูม ธฺมมทีโป เมื่อครั้งอุปสมบทใหม่

ครั้นอุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดบ้านหนองกก ตำบลบัวหุ่ง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อได้พ้น ๕ พรรษา ได้ย้ายไปอยู่วัดประยุรวงศาวาส จังหวัดธนบุรี(ปัจจุบัน วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ใกล้กับเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ฝั่งธนบุรี โดยมีเลขทะเบียนวัดที่ 24 ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร) ศึกษาพระธรรมวินัยพอสมควร แล้วได้ย้ายไปอยู่จังหวัดนครสวรรค์ และกลับมาจำพรรษา ณ วัดสำโรงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ตามลำดับ

พุทธศักราช ๒๔๖๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสำโรงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

พุทธศักราช ๒๔๖๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าคณะอำเภออุทุมพรพิสัย และในวันที่ ๑๕ เดือนมกราคม ในปีนั้น ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ประเภทสามัญ

พุทธศักราช ๒๔๖๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะอำเภออุทุมพรพิสัย และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูเทวราชกวีวรญาณ เมื่อวันที่ ๙ เดือนพฤศจิกายน ในปีนั้น

พุทธศักราช ๒๔๗๐ สอบได้นักธรรมชั้นตรี ในสนามหลวง สำนักเรียนวัดสำโรงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

พุทธศักราช ๒๔๗๑ สอบได้นักธรรมชั้นโท ในสนามหลวง สำนักเรียนคณะจังหวัดศรีสะเกษ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอราษีไศล ในอีกตำแหน่งหนึ่ง

รูป : พระครูเทวราชกวีวรญาณ(จูม ธฺมมทีโป)

พระครูเทวราชกวีวรญาณ ได้เป็นพระครูปริยัติธรรม เจ้าอาวาส เจ้าคณะอำเภอ พระอุปัชฌาย์ ปฏิบัติศาสนกิจ จัดการปกครอง การศึกษา การเผยแผ่ศาสนา และการสาธารณูปการด้วยอุตสาหะ วิริยะภาพ  มีสัทธิวิหาริก อันเตวาสิก จำนวนมาก สนับสนุนให้พระภิกษุสามเณรได้รับการศึกษา โดยส่งให้ไปศึกษาต่อที่จังหวัดธนบุรี(ในขณะนั้น) โดยเฉพาะวัดประยุรวงศาวาส จังหวัดธนบุรี ซึ่งเป็นสำนักเรียนที่ท่านเคยได้ศึกษาเล่าเรียนมา อาทิ มหาทอง มหาสุเทพ(ทองคำ อาจสาลี ผู้เป็นหลานชายของพระครูฯ) มหาจอย มหาวงศ์ มหาระเบียบ พระราชจินดามุนี(หรือพระเทพวรมุนี (เสน ปญฺญาวชิโร) ป.ธ.๗ พ.ม. อดีตเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ) ติดต่อเป็นลำดับมาจนตลอดสมัยที่ท่านปกครองในเขตอำเภออุทุมพรพิสัย

ในระหว่างพุทธศักราช ๒๔๘๓ - ๒๔๘๕ วงการคณะสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษ เกิดความเข้าในผิดกันเกิดขึ้น เกิดความปั่นป่วนในทางคณะสงฆ์ โดยผู้ใหญ่ถืออำนาจไม่เป็นธรรม ส่งผลให้ พระครูเทวราชกวีวรญาณ ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาสวัดสำโรงใหญ่ ถอดจากสมณศักดิ์เป็นพระจูม ธฺมมทีโป และถูกถอดจากตำแหน่งเจ้าคณะอำเภออุทุมพรพิสัยด้วย ซึ่งในคราวนั้น มีเจ้าคณะที่ถูกถอดถอนด้วยกัน คือ
๑. พระครูธรรมจินดามหามุนี โคตมวงศ์สังฆวาหะ(เดช มหาปฺญโญ) เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ วัดมหาพุทธาราม
๒. พระครูเกษตรศีลาจารย์(ทอง จนฺทสาโร) เจ้าคณะอำเภอเมืองศรีสะเกษ วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม
๓. พระครูเทวราชกวีวรญาณ(จูม ธฺมมทีโป) เจ้าอาวาสวัดสำโรงใหญ่ เจ้าคณะอำเภออุทุมพรพิสัย
๔. พระครูพิทักษ์กันทรารมณ์(มหาค้ำ เขมภิรโต) วัดบ้านคำบอน เจ้าคณะอำเภอกันทรารมณ์
๕. พระครูศรีไศลคณารักษ์(ขาว) วัดกลาง เจ้าคณะอำเภอราษีไศล รูปนี้เพียงถอดจากตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอเท่านั้น
นอกจากนี้พระเปรียญที่ถูกสั่งให้ลาสิกขาและให้บัพพาชนียกรรมอีก คือ
๑. พระมหาประเทือง ปภากโร(มหาประเทือง ธรรมสาลี) วัดมหาพุทธาราม
๒. พระมหาชาย (มหาชาย สีตะวัน) วัดมหาพุทธาราม
๓. พระสมุห์สิงห์ วัดมหาพุทธาราม

พระครูเทวราชกวีวรญาณ เมื่อถูกถอดจากตำแหน่งครั้งนั้นแล้ว ได้ย้ายไปอยู่ที่วัดบ้านหนองกก(วัดโพธิ์ศรีหนองกกในปัจจุบัน) ตำบลบัวหุ่ง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ อันเป็นบ้านเกิดภูมิลำเนาเดิม ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านหนองกก เป็นเจ้าคณะตำบลบัวหุ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตตำบลบัวหุ่ง(เมื่อวันที่ ๒๓ เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๙๔) รวมทั้งเป็นกรรมการสงฆ์อำเภอ องค์การสาธารณูปการอำเภอราษีไศล

รูป : ตราแต่งตั้ง พระจูม ธฺมมทีโป เป็นพระอุปัชฌาย์

พุทธศักราช ๒๔๙๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์คืนเป็น พระครูเทวราชกวีวรญาณ ในวันที่ ๕ เดือนธันวาคม ปีนั้น ถือพัด จ.ป.ร.(หมายถึง พัดในรัชกาลที่ ๕) มีนิตยภัต ๖๐ บาท เทียบเจ้าคณะอำเภอชั้นโท

รูป : มุทิตาบัตรแต่งตั้งเป็น พระครูเทวราชกวีวรญาณ เช่นเดิม


รูป : พระครูเทวราชกวีวรญาณ(จูม ธฺมมทีโป) พร้อมพัดยศ


พุทธศักราช ๒๕๐๒ ได้รับพระราชทานในสมณศักดิ์เดิม โดยเลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก มีนิตยภัค ๘๐ บาท

พระครูเทวราชกวีวรญาณ ดำรงตำแหน่งพระคณาธิการครั้งก่อนก็ดี ดำรงตำแหน่งพระคณาธิการครั้งหลังก็ดี มีอุตสาหะ วิริยภาพ บริหารงานอย่างเข้มแข็ง เคารพเอื้อเฟื้อในพระธรรมวินัย ไม่เคยขาดประชุมการคณะสงฆ์ เว้นแต่ป่วยจริงๆแม้เจ้าคณะจังหวัดจะเคยถวายคำแนะนำให้พักผ่อนรักษาตัว ไม่ต้องเดินทางเข้าไปประชุมที่จังหวัด ท่านก็ไม่ยอม แม้ร่างกายจะชราภาพมากแล้วก็ตาม

พระครูเทวราชกวีวรญาณ ได้อาพาธด้วยโรคชรา เป็นไปตามคติธรรมดา ได้มรณภาพ ณ วัดบ้านหนองกก(วัดโพธิ์ศรีหนองกกในปัจจุบัน) ในท่ามกลางศิษยานุศิษย์ ญาติมิตร ด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ ๑๖ เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๐๖ เวลา ๑๒.๑๕ น. สิริรวมอายุ ๗๗ ปี ๓ เดือน ๙ วัน ๕๗ พรรษา



รูป : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ
พระครูเทวราชกวีวรญาณ(จูม ธฺมมทีโป)
วันที่ ๒๒ เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๐๗


รูป : เจดีย์บรรจุอัฐิ ณ วัดโพธิ์ศรีหนองกก
องค์ซ้าย - พระอุปัชฌาย์พิลา โสภิโต
โดยพระครูเทวราชกวีวรญาณ(จูม ธฺมมทีโป) และชาวบ้านหนองกก
สร้างถวาย เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๙๓
องค์กลาง - พระครูเทวราชกวีวรญาณ(จูม ธฺมมทีโป)
องค์ขวา - ไม่ทราบว่าเป็นของพระท่านใด เพียงแต่ทราบว่า
พระครูเทวราชกวีวรญาณ(จูม ธฺมมทีโป)  สร้างถวาย


ข้อความดังกล่าวนั้น ได้คัดลอกมาจากหนังสืออนุสรณ์ ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูเทวราชกวีวรญาณ (จูม ธฺมมทีโป) อันเป็นหนังสือที่ พระราชจินดามุนี(เสน ปญฺญาวชิโร) เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษในสมัยนั้น เป็นผู้เขียน และโดยพระครูประสิทธิ์ธรรมรังษี(ฤทธิ์ ปสนฺโน) เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีหนองกกในปัจจุบัน เป็นผู้พิจารณาคัดกรองความจากหนังสือนั้นในอีกคราวหนึ่ง

รูป : หนังสือ อนุสรณ์ ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูเทวราชกวีวรญาณ (จูม ธฺมมทีโป)


อ้างอิงข้อมูลเสริมบางส่วนจาก :
http://www.m-culture.in.th/moc_new/album/123684/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%81/

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3

http://province.m-culture.go.th/sisaket/sadsana.htm

หากมีข้อผิดพลาดอย่างไร ผู้สร้างโพสต์ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ด้วยความเคารพอย่างสูง

(C)2556 สงวนสิทธิ์ในนามวัดโพธิ์ศรีหนองกก บ้านหนองกก ตำบลบัวหุ่ง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ห้ามนำไปเพื่อการจำหน่าย การหารายได้ หรือการพาณิชย์ใดๆ นอกเสียจากเพื่อการกุศลเท่านั้น

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทริป ภูกระดึง ธันวาคม 2555

หลังจากห่างหายไปจากการเขียนบล็อกไปซะนาน

อิอิ

สำหรับทริปนี้ก็เป็นครั้งที่ 2 ในชีวิตแล้วนะครับ
ที่ได้ไปลิ้มรสอะไรหลายๆอย่างที่"ภูกระดึง แดนสวรรค์แห่งเมืองเลย"

ไม่ขออารัมภบทนานนะครับ เข้าเรื่องเลย

เช้ามืดวันที่ 8 ธันวาคม 2555 (04.30 น.) ตื่นมาเตรียมสัมภาระที่จำเป็น
-เสื้อผ้า ชุดกันหนาว ผ้าเช็ดตัว ผ้าพันคอ
-เสบียงนิดหน่อย(น้ำดื่ม+ขนมปัง+แยมสตรอว์เบอร์รี่ BESTFOOD)
-ไฟฉาย
-ยาสีฟัน แปรงสีฟัน สบู่ ผ้าเช็ดหน้า
-กล้องถ่ายรูป ถ่าน AA การ์ด SDHC (ไอเท็มสำคัญนะครับ)
-เงิน (ไอเท็มสำคัญโคตรๆเลยนะครับ)
-ฯลฯ ที่ท่านเห็นว่าจำเป็นต่อการไปที่นั่นนะครับ

หลังจากเตรียมอะไรเรียบร้อยแล้ว เราก็เริ่มออกเดินทางกันจากที่พักที่ขอนแก่นกันตอน 05.30 น.

มุ่งตรงสู่ภูกระดึง ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ทางหลวงเอเชีย หมายเลข AH16)

แต่ก่อนอื่น ขอเติมเชื้อเพลิงให้พาหนะที่รักก่อนเถอะท่าน
 
นี่ก็ ปตท. ทางออกจากเมืองขอนแก่น มุ่งหน้าสู่ชุมแพน่ะครับ
 
 เพื่อนร่วมเดินทางครั้งนี้ครับ นายหนอนแว่น

 
เสื้อฟ้าเนี่ย ผมเอง
 
 
ก็ขับรถไปตามทางเรื่อยๆครับ ไม่รีบเท่าไหร่ ความเร็ว 60-80 กม./ชม.
ไปได้ซักนิดหนึ่งก็รู้สึกว่าดวงอาทิตย์กำลังขึ้นแล้ว ก็เลย ขอเก็บภาพไว้ระหว่างทาง
 
สวยป่ะล่ะ 55
 
 
"ไปให้สุดขอบฟ้า จะไม่มองย้อนมา จะมุ่งไปให้ถึงดวงดาวที่ฝันใฝ่..."
 
 
นี่ก็น่าจะเป็นแยกบ้านฝากมั้งครับ ลืมแล้ว แต่ก็อยู่ระหว่างทางไปภูกระดึงนั่นแหละ
 
 
ตอนนี้ถึง ปตท.ชุมแพแล้ว พักเหนื่อยสักหน่อย ทั้งรถ ทั้งคน
 
 
มอเตอร์ไซค์คู่หู ไปไหนไปกันทุกที่ อุดร-ขอนแก่น ก็เคยไปมาแว้วววว (โม้เนอะ -.-)
ก็นะ เติมน้ำมันเสร็จก็ออกเดินทางต่อเลยครับ
ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ไป หน่อยๆก็ถึงทางแยก
เลี้ยงขวา เข้าสู่ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 201
มุ่งหน้าสู่ ภูกระดึง อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลยครับ
 
ระหว่างทางก็จะผ่านอุทยานแห่งชาติภูผาม่านด้วยนะ
ป่า 2 ข้างทาง ทึบๆ เย็นๆ ขับรถ(มอเตอร์ไซค์)ตอนเช้าๆหนิ ไม่ต้องอธิบายเลย ฮ่ะๆ
 
ผ่านอุทยานแห่งชาติภูผาม่านไปก็จะเจอกับ ผานกเค้า ปราการแรกก่อนถึงภูกระดึงครับ
เก็บภาพไว้หน่อย
บรรยากาศตอนเช้า กำลังดีครับ
ถ้าข้ามสะพานที่ผมถ่ายรูปนี้ไปก็จะเป็นร้านขายของที่ระลึก ร้านอาหารเช้า ฯลฯ นะครับ
ท่าที่ไม่เร่งีบก็แวะที่นั่นก่อนก็ได้นะ
 
ถ่ายรูปเสร็จก็มุ่งหน้าสู่จุดมุ่งหมายของทริปนี้เลยครับ
 
ผ่านผานกเค้าไปไม่ไกลนัก จะมีทางแยก เลี้ยวซ้าย เข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201(เดิม)
ตรงเข้าสู่ภูกระดึง แล้วก็ไม่ไกลนักอีก ก็จะเจอกับ 4 แยกวงเวียน เลี้ยวซ้ายอีกที เพื่อเข้าสู่ตัวอำเภอภูกระดึงคับ
 
โดยส่วนผมไม่ได้แวะทานข้าวเช้าที่ผานกเค้า ก็เลยมาที่ตัวอำเภอ หาร้านที่อินดี้ๆหน่อย ก็แวะเลยครับ
 
 
ร้านนี้ ไม่ต้องสั่งพิเศษก็ให้เยอะครับ เหมาะแก่คนกินเยอะ ฮ่ะๆ
 
 
ข้าวเช้าเสร็จก็กาแฟซักถ้วยก่อนน
 
หลังจากนั้นก็ไม่รอช้าครับ ขับรถขึ้นภูฯ
ก่อนนั้นจะไปเจอด่านให้จ่ายค่าจอดพาหนะก่อนนะครับ
รถยนต์ 30 บาท
รถมอเตอร์ไซค์ 20 บาท
แล้วก็ขับไปที่จุดบริการนักท่องเที่ยวเลย
 
พอไปถึงก็มี 2 กรณีครับ
ถ้าจองผ่านเว็บไซต์ก่อนหน้าที่จะไป กับไม่ได้จองผ่านเว็บไซต์(คือไปหาเอาข้างหน้านั่นแหละ)
แต่ยังไงซะก็ต้องไปติดต่อจุดบริการนักท่องเที่ยวที่จุดเดียวกันซะก่อน
ภาษาของเจ้าหน้าที่ที่นั่นเค้าเรียกว่า จุดที่ 1 (มีป้ายติดบอกว่าเป็น เลข 1)
ถ้าจองผ่านเว็บไซต์ก่อนหน้าที่จะไป ก็เอาใบเสร็จชำระเงินไปยืนยันครับ
แต่ถ้าไม่ได้จองผ่านเว็บไซต์ก่อนหน้าที่จะไป ก็แจ้งทางเจ้าหน้าที่ที่จุดหมายเลข 1 ว่า ไม่ได้จองผ่านเว็บไซต์ แล้วก็แจ้งคนที่มากับคณะเที่ยวของเราว่ามีกันกี่คน (ของผมก็ 2 คน คนละ 40 บาท รวม 80 บาทครับ) แล้วจะได้ใบเสร็จสีขาวมา(เอาไว้ไปติดต่อจุดบริการนักท่องเที่ยวอีกทีนึง ที่บนภูฯ เพื่อว่าจะได้จองเต็นท์/ที่กางเต็นท์/หมอน/ผ้าห่ม/ฯลฯ)
เสร็จจากนั้นก็ไปติดต่อที่หมายเลข 2 (รึเปล่านะ ไม่แน่ใจ) เป็นจุดที่ติดต่อจ่ายค่าบริการการใช้พื้นที่อุทยานแห่งชาติ(มั้งนะ ลืมอ่ะ) คนละ 20 บาท (มั้งนะ ไม่แน่ใจอ่ะ >> ขอโทษครับ ลืมจริงๆ) แล้วจะได้บัตรผ่านขึ้นภูฯ ใช้ยื่นกับเจ้าหน้าที่ที่ยืนตรวจอยู่เชิงภูฯนะครับ 
 
เสร็จแล้วทุกอย่างก็ขึ้นภูฯเลย
 
แต่เดี๋ยวก่อน!! ไหว้พระขอพร ก่อนขึ้น จะได้เป็นมงคลแก่ชีวิตนะ
 
 
แจ้งเหตุ ขอความช่วยเหลือ โทร... ตามนั้น
 
 
ขึ้นมาได้พักนึง ทางชันโคตร!!
 
 
เหนื่อยดิ
 
 
เนี่ยแค่ซำบอน(ลำดับต้นๆน่ะครับ) เดินมาได้แค่กิโลฯกว่าๆ แต่ เหนื่อยสุดๆ
 
แต่ก็เดินไปเรื่อยๆ พักไปเรื่อยๆ ตามที่ร่างกายจะพอรับไหวครับ
ที่สำคัญ อย่าลืม น้ำดื่มนะครับ จำเป็นอย่างยิ่ง ต่อการขึ้นภูฯ
 
 
เจอบันไดเหล็กแบบนี้ ใกล้ถึงยอดภูฯ(หลังแป) แล้วนะครับพี่น้อง
 
 
ขึ้นมาถึงหลังแปแล้วนะครับ เหนื่อยเกินน
หลังจากที่ส่งนายหนอนแว่นล่วงหน้าขึ้นภูไปก่อนเพื่อจองเต็นท์/ผ้าห่ม/หมอน
แล้วตัวผมเองก็เดินตามไปที่หลัง แล้วไปช่วยกางเต็มท์ เตรียมที่พักสำหรับคืนที่จะถึงนี้
 
 
ช่วยกันกางเต็นท์จนเสร็จ แล้วไปเช่าผ้าใบสำขาวน้ำเงิน มาจากร้านอาหารใกล้ๆ ผืนละ 25 บาท
เพื่อมากันน้ำหมอกที่จะลงตอนกลางคืน เปียกนะ ถ้าไม่กาง *.*
 
นี่แหละครับ สภาพทีกางเสร็จ เหอๆ
 
ขอนอนพักซัก 1-2 ชม. แล้วออกตัวเติมพลัง เพื่อเดินครับ
 
 
กินข้าวเที่ยง ที่ร้านน้องแอ๋น(เดี๋ยวจะลงรูปให้ดูที่หลังนะ)
แล้วก็เลยถ่ายรูปแผนที่โดยคร่าวๆของภูฯ มาเพื่อเป็นตัววางแผนการเดินรอบภูฯ
จุดมุ่งหมาย้ทายสุดของเราคือ ผาหล่มสัก จุดชมวิวพระอาทิตย์ตกครับ
 
 
นี่ก็เป็นเส้นทางที่จะเดินสำหรับวันนี้นะ
 
 
ระหว่างทางไปนมัสการ องค์พระพุทธเมตตา
 
กราบงามๆ 3 ครั้ง (ต้องขออภัย ที่ไม่ได้ถ่ายรูปองค์พระพุทธเมตตามาให้ชมนะครับ)
 
ไปต่อ...
 
ระหว่างทางเดิน มีป้ายนี้ติดบอกด้วย คาดว่าจะเป็นการปล่อยกระแสไฟฟ้า เพื่อกันสัตว์ป่าไม่ให้เข้าไปในเขตที่พักและทำอันตรายแก่นักท่องเที่ยวน่ะครับ
 
 
แล้วก็เดินต่อไป สระอโนดาต นี่ก็บรรยากาศระหว่างทางครับ
 
 
ถึงแล้วววว สระอโนดาต ถ้าท่านเหนื่อยๆหน่อย แนะนำให้ถอดรองเท้าแล้ว เอาเท้าแช่น้ำนะครับ เย็นโคตร หายเหนื่อยเลยล่ะท่านเอ้ย จะบอก
 
ระหว่างที่จะออกจากสระอโนดาต เพื่อเดินต่อไปที่น้ำตกถ้ำสอเหนือ ก็มีป้าย ห้ามผ่านตั้งแต่เวลา 15.00 ถึง เช้าๆ ก็ทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนเส้นทาง เดิน จากจุดหมายเดิมไปที่ ผาเหยียบเมฆ ซึ่งเป็นทางที่ปลอดภัยกว่า
 
 
ระหว่างทางที่เดินเห็นหน้าเหนื่อยๆอย่างงี้ ไม่ใช่อะไรนะครับ
แบบ วิ่ง อ่ะ กลัวไม่ทันดูพระอาทิตย์ตกที่ผาหล่มสัก -.-
เหนื่อยดิ
 
 
นี่ก็ระหว่างทางเดินไปผาเหยียบเมฆ
ใกล้ถึงละๆ
 
 
ที่นี่ ผาเหยียบเมฆ
สูงชัน และน่ากลัว
แต่วิวสวยโคตร
 
 
แล้วเดินต่อครับ ไม่รอ นี่ก็ระหว่างทางไปผาหล่มสัก ให้บรรยากาศอีกแบบนึง
 
 
ถึงแล้วจร้า สวยสมกับที่วิ่งมาหาเธอจริงๆนะเออ
 
 
แต่ดูจากหน้าคนเขียนบล็อกแล้ว เหนื่อยสุดๆ วิ่งอ่ะครับ กลัวไม่ทันจริงๆ
 
 
อีกรูป
 
 
อีกรูป
 
 
กำลังจะกลับที่พักละครับ อีก 9 กิโลเมตร กับ 354 ไกลมว๊ากกก
 
 
ระหว่างทางกลับครับ เป็นร้านอาหารที่ขายแถวๆ ผาเหยียบเมฆ ท่านที่ต้องการพีกก็มีอาหาร/เครื่องดื่มขาย นะครับ
 
แล้วเดินต่อ...
 
ถึงเสียที เลยคุยกับนายหนอนแว่ยว่า พอถึงแล้ว ขอไปกินข้าวก่อนนะ
 
 
แต่พอไปล้างมือก่อนไปกินข้าวก็ไปเจอ กวางในตำนาน
มาครั้งที่แล้วไม่เจอ แต่มาครั้งนี้ เจอนะ ฮ่ะๆๆ
คุ้ยอาหารกินอร่อยเชียวท่านเอ้ย
 
 
ล้างมือเสร็จก็เดินมาสั่งข้าวที่ร้านน้องแอ๋นครับ
ร้านนี้แหละ ถูกใจสุดๆละ
เจ๊เจ้าของร้านเป็นกันเองสุดๆ(ช่วงที่ลูกค้าน้อยๆนะ)
 
 
มีน้ำชาร้อนๆให้ดื่มแบบฟรีๆด้วย ตรงนี้แหละ ติดใจที่สุด อิอิ
 
 
ซดชาก่อนกินข้าวสักหน่อยน่ะ
 
 
มาเสิร์ฟแล้วครับ อาหารเย็นมื้อร่อย
 
 
เกลี้ยงตั๊บ ทันตาเห็น
 
 
เอาล่ะ กินเสร็จ ไม่มีการอาบน้ำครับ
หนาวอ่ะ 555
นอนละ ฝันหวานๆ
 
 
ตื่นแล้วคร้าบบ
พร้อมจะออกเดินไปชมพระอาทิตย์ขึ้น ที่ผานกแอ่น
 
 
เดินออกจากที่พักมาก็ 2 กิโลฯกว่าๆมั้ง ก็ถึงแล้วครับ ผานกแอ่น จุดชมวิวพระอาทิตย์
 
 
รูปแนว silhouette ในความคิดของผม ว่าสวยดีนะ อิอิ
 
 
หึหึ
 
จับพระอาทิตย์
 
 
ลูกไม้เรืองแสง
 
 
สวยป่ะ? อิอิ
 
 
อีกรูป silhouette อีกรูป
 
 
ยิ้มหน่อย
ถ่ายรูปได้ สักหน่อย ก็กลับเต็มท์ ครับ
 
 
ระหว่างทาง ก็สวยดีนะครับ
 
 
หมอกลงนะ ให้อารมณ์ไปอีกแบบ
 
 
ว่าไปๆ
 
 
มาถึงที่กินข้าวแล้วครับ หมอกลงหน่อยๆ กำลังหนาวๆดี
 
 
ร้านน้องแอ๋นครับ เจ้าเก่า เจ้าเดิม ไม่เปลี่ยนร้าน เพราะ
V
V
V
 
 
ข้าวอร่อย มีน้ำชาให้ดื่มด้วย
 
หลังจากกินข้าวเสร็จก็
กลับเต็นท์ เก็บของ เตรียมกลับครับ
คืนเต็นท์ ที่จุดเช่าเครื่องนอน
แล้วก็เดิน ไปสู่หลังแป ทางกลับลงข้างล่าง
 
 
ขอถ่ายรูปไว้หน่อย ก่อนกลับ
 
 
บันไดเหล็ก (เกือบ)90 องศา ครับ ชันเหลือเกิน
 
 
เดินมาได้ กิโลฯกว่าๆก็ ถึงด่านช้าง
 
 
ซึ่งที่ซำแคร่นี้ ก็ใกล้ๆ ด่านช้างอ่าครับ
 
 
ลงมาอีกก็ซำกกโดน มีที่ให้พัก มีอาหารเครื่องดื่มขายครับ
 
 
พักซักหน่อยนะ
แล้วไปต่อ
 
 
ต่อด้วยซำกกไผ่
 
 
และซำกกหว้า
 
 
และพร่านพรานแป
 
 
และซำกอซาง
จะสังเกตเห็นหัวคนเขียนบล็อก
สภาพ ไม่ไหวแล้ว
 
 
ใกล้แล้วครับ
ซำกกออกแล้ว
 
 
ต่อด้วยซำบอน
ใกล้แล้วๆ
 
 
ซำแฮกแล้วๆ
 
 
ต่อด้วย ปางกกค่า
อีก 800 เมตรก็เชิงเขาแล้วครับ
 
 
อ่ะ มาถึงเสียที เหนื่อยโคตร
 
 
นี่ก็เป็นจุดพักทั้ังหมดที่ว่ามา ตั้งแต่เชิงเขา ไปจนถึงหลังแปนะครับ
 
 
อีกซักรูป ที่ กม. 0 ภูกระดึง
ถ่ายรูปเสร็จ ก็กลับกันเลยครับ กลัวว่าจะถึงขอนแก่นช้า
ออกตัวจากภูกระดึง เวลาประมาณ 15.30 น.
 
 
ถึงผานกเค้า ขอถ่ายรูปไว้อีกสักรูป แสงกำลังสวย
แล้วก็เดินทางกลับโดยรถมอเตอร์ไซค์คู่ใจ
ถึงขอนแก่นก็ 2 ทุ่มกว่าๆ -.-
พักที่ ปตท. ชุมแพ นานดีนะ เหอๆๆๆ
 
 
กลับมาถึงบ้านที่ขอนแก่น  ก็ ปวดขาสุดๆครับ
แปะกอเอี๊ยะ ตั้งหลายแผ่นก็ไม่หายปวดซะที
 
ก็นี่นะครับ โดยคร่าวๆของทริปนี้
อยากให้ไปกันมากๆ
 
รายจ่ายโดยคร่าว 1 วัน ไม่เกิน 1 พันบาทครับ
เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการท่องเที่ยวแนวผจญภัย+ประหยัดค่าใช้จ่าย
 
 
 
 
 
เพิ่มเติมครับ
เว็บไซต์ของ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
 
มีอีกหลายๆอย่างรอท่านไปค้นหานะครับ
ขอให้โชคดี อิอิ